วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ระบบสุริยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ โดยย่อขนาดของดาวตามอัตราส่วนจริง แต่ระยะห่างระหว่างดาวไม่ใช่อัตราส่วนจริง

ระบบสุริยะ (อังกฤษ: Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง[1] ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่างๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส
มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน

พบดาวดวงใหม่ ลักษณะคล้ายกับโลก

พบดาวดวงใหม่ ลักษณะคล้ายกับโลก



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

        เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บรรดานักดาราศาสตร์ได้เผยการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับโลกมากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา และมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
        โดยนักดาราศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของดาวดวงดังกล่าวว่า นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบและจับตาดูการเคลื่อนไหวของดาวดวงหนึ่งชื่อ กลีส 581 จี (Gliese 581g) ที่โคจรรอบดาวฤกษ์สีแดงที่เรียกว่า กลีส 581 (Gliese 581) ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง หรือ 190 ล้านล้านกิโลเมตร ซึ่งดาวกลีส 581 จี ดวงนี้อยู่ในอวกาศเขตโกลดิล็อกส์โซน (Goldilocks zone) ซึ่งเป็นเขตที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนและไม่เย็นเกินไป คืออุณหภูมิในชั้นบรรยากาศอยู่ระหว่าง -31 ถึง -12 องศาเซลเซียส และด้วยความที่มันหมุนรอบตัวเองช้ามาก ทำให้พื้นผิวมันมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน คือประมาณ 70 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ของมัน และประมาณ -4 องศาเซลเซียสสำหรับด้านที่หันออกจากดวงอาทิตย์ของมัน ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิบนโลกมากที่สุด และสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้
        สำหรับขนาดของมัน จะใหญ่กว่าโลกเล็กน้อย และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก โดย กลีส 581 จี  อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ของมันเพียง 22.5 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่โลกเราห่างดวงอาทิตย์ของเราถึง 150 ล้านกิโลเมตร ซึ่งนั่นส่งผลให้ กลีส 581 จี ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เพียง 37 วันเท่านั้น ขณะที่โลกใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 1 ปี

        ทั้งนี้ นักดาราศาสตร์ยังเปิดเผยอีกว่า นี่เป็นการค้นพบดาวดวงใหม่ที่แตกต่างจากทุก ๆ ครั้ง เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวดวงใหม่มาแล้วมากกว่า 400 ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะเหมือนกับดาวพฤหัส คือเป็นดาวที่รวมตัวกันจากแก๊สขนาดยักษ์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้อย่างแน่นอน การค้นพบ กลีส 581 จี จึงถือว่าเป็นการค้นพบที่น่ายินดี เพราะมันมีลักษณะใกล้เคียงกับโลกมากเลยจริง ๆ

มนุษย์ต่างดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่
มนุษย์ต่างดาว (อังกฤษ: Alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการ

มนุษย์ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อพิสูจน์เรื่องมนุษย์ต่างดาว แต่ก็ยังมีจินตนาการภาพลักษณ์ของมนุษย์ต่างดาวที่ได้ในสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ นิยาย การ์ตูน และ วีดีโอเกม

[แก้] ประเภทของมนุษย์ต่างดาว

ได้มีการแบ่งประเภทตามลักษณะของผู้ที่อ้างว่าได้พบเจอมนุษย์ต่างดาวไว้ ดังนี้
  • เกรย์ (Grey) หมายถึง สีเทา โดยประเภทนี้พบบ่อยที่สุด (ดังในรูป) มีลักษณะหัวโต ตาโตสีดำ รูปร่างคล้ายมนุษย์ ไม่มีขน นิ้วทุกนิ้วเรียวยาว ผิวหนังสีเทา จึงเป็นที่มาของชื่อ สื่อสารกันด้วยการใช้โทรจิต
  • อเลสเฮนกา (Aleshenka) ตั้งตามชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในรัสเซีย ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยหญิงสติไม่สมประกอบผู้หนึ่ง มีการบันทึกการพบเจอไว้ด้วยเทปของตำรวจ แต่ภายหลังพบว่าแท้จริงแล้วเป็นเพียงตัวอ่อนของมนุษย์เท่านั้น[1]
  • กึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian humanoid) ตัวสีเขียว รูปร่างคล้ายมนุษย์มี 2 ขา แต่มีผิวหนังและลักษณะคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน
  • ดรอป้า (Dropa) ตัวเล็กมาก ก่อนหน้านี้มีหลักฐานว่าเคยพบบริเวณพรมแดนจีน-ทิเบต ราว 1 หมื่นปีก่อน แต่ต่อมาพบว่าเป็นหลักฐานเท็จ และเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องกุขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
  • คล้ายหุ่นยนต์ (Robot) รูปร่างคล้ายหุ่นยนต์ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เนื้อตัวเป็นโลหะ ขนาดค่อนข้างใหญ่
  • คล้ายวิญญาณ (Soul) ไม่มีกายเนื้อ สีขาว คล้ายผีหรือวิญญาณ (ตามคำบอกเล่าของ ศ.ดร.น.พ.เทพพนม เมืองแมน)

[แก้] การเผชิญหน้ากับมนุษย์ต่างดาว

ได้มีการแบ่งประเภทการเผชิญหน้ากับมนุษย์ต่างดาวไว้ 5 ระดับ คือ
  • การเผชิญหน้าระดับที่หนึ่ง (Close Encounters of the First Kind) หมายถึง การได้พบปะหรือเจอะเจอกับจานบินหรือมนุษย์ต่างดาวในระยะที่ไกลห่างออกไป เช่น จานบินลอยอยู่บนท้องฟ้า หรืออยู่ห่างจากผู้ที่พบเจอในระยะ 50 หลา เป็นต้น
  • การเผชิญหน้าระดับที่สอง (Close Encounters of the Second Kind) หมายถึง การพบปะกับจานบินหรือมนุษย์ต่างดาวคล้ายกับการเผชิญหน้าระดับที่หนึ่ง แต่อยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น เช่น อาจพบจานบินที่จอดอยู่บนพื้น เป็นต้น
  • การเผชิญหน้าระดับที่สาม (Close Encounters of the Third Kind) หมายถึง การได้เข้าไปในจานบินจะด้วยสาเหตุใดก็ตามแต่สามารถจดจำประสบการณ์ได้และสามารถออกมาได้
  • การเผชิญหน้าระดับที่สี่ (Close Encounters of the Fourth Kind) หมายถึง การที่ถูกมนุษย์ต่างดาวจับตัวไป อาจจะถูกทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา แต่สามารถจดจำประสบการณ์ได้และออกมาได้
  • การเผชิญหน้าระดับที่ห้า (Close Encounters of the Fifth Kind) หมายถึง การที่มีการติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาวในระดับที่เป็นกิจจะลักษณะ สามารถสื่อสารกันได้ความระหว่างมนุษย์โลกกับมนุษย์ต่างดาว

[แก้] มนุษย์ต่างดาวในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย มีสถานที่แห่งหนึ่งที่มีผู้อาศัยอยู่ที่นั่นอ้างว่า พบเจอสิ่งประหลาดคล้ายจานบินบินไป บินมา อยู่บ่อยครั้ง คือที่ เขากะลา จ.นครสวรรค์ ถึงขนาดมีการจัดตั้งชมรมหรือสมาคมขึ้นมาในท้องถิ่นเพื่อศึกษาทางด้านนี้โดยเฉพาะเลยทีเดียว

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น